การใช้โซเชียลมีเดีย

ปัญหาทางสุขภาพจิตจากการใช้โซเชียลมีเดีย

คนเราใช้เวลาส่วนมากไปกับโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Instagram หรือ TikTok โดยทุกวันนี้มีผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียมากกว่า 3.8 ล้านคนในโลก ข้อมูลจากองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD พบว่าส่วนใหญ่คนเราใช้เวลาโดยเฉลี่ย 4 ชั่วโมงต่อวันบนโซเชียลมีเดีย ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าการใช้โซเชียลมีเดียมีผลต่อสุขภาพจิตที่แย่ลง

งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ทำในมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียพบว่า เมื่อแบ่งนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม โดยที่กลุ่มหนึ่งสามารถใช้งานโซเชียลมีเดียเช่น Facebook, Snapchat, Instagram ได้ตามปกติ แต่อีกกลุ่มจะถูกจำกัดการใช้งานเพียง 10 นาทีต่อแพลทฟอร์มต่อวัน กลุ่มนักศึกษาที่ถูกจำกัดการใช้งานโซเชียลมีเดียมีรายงานว่ามีภาวะที่รู้สึกเหงาและซึมเศร้าลดลงหลังจากผ่านไป 3 สัปดาห์

อีกหนึ่งงานวิจัยที่ทำเรื่องการใช้โซเชียลมีเดียกับบุคคลที่อายุระหว่าง 19-32 ปี พบว่าบุคคลที่เข้าใช้ Facebook, Twitter, YouTube และ LinkedIn มากกว่า 58 ครั้งต่อสัปดาห์ มีแนวโน้มที่จะเกิดความรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยวมากกว่าถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ใช้งานโซเลียลมีเดียน้อยกว่า 9 ครั้งต่อสัปดาห์ ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่า ความถี่ของการเข้าใช้โซเชียลมีเดีย มีผลกระทบต่อสุขภาพจิตมากกว่าระยะเวลาที่ใช้งานบนโซเชียลมีเดียในแต่ละแพลทฟอร์ม

การใช้โซเชียลมีเดีย จะมีผลต่อสุขภาพจิตของวัยรุ่นมากที่สุด โดยเฉพาะกับวัยรุ่นที่เป็นผู้หญิง การศึกษาในลอนดอนพบว่า การเข้าใช้โซเชียลมีเดียบ่อย ๆ มีความเกี่ยวข้องกับการมีปัญหาสุขภาพจิตที่มากขึ้น ซึ่งรวมถึงการถูกข่มเหงรังแกทางออนไลน์ การนอนหลับพักผ่อนได้น้อยลง และการมีกิจกรรมทางกายลดลง และจะเป็นเช่นนี้ในวัยรุ่นหญิงมากกว่าวัยรุ่นชาย การศึกษาอีกชิ้นก็พบว่าวัยรุ่นหญิงในอายุ 14 ปีจะมีอาการของโรคซึมเศร้ามากขึ้นด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับวัยรุ่นชาย เนื่องจากการใช้โซเชียลมีเดียที่ถี่ขึ้นมีความเกี่ยวข้องกับการคุกคามกันทางโลกออนไลน์ การอดนอน รวมทั้งการเห็นคุณค่าของตนเองน้อยลง และการดูถูกและล้อเลียนรูปร่างอีกด้วย

การใช้โซเชียลมีเดีย

นอกจากนั้น โซเชียลมีเดียยังมีผลโดยตรงต่อสมองของเรา แต่นั่นหมายความว่าโซเชียลมีเดียทั้งหมด จะมีแต่เรื่องแย่ ๆ รึเปล่า

ซึ่งความจริงแล้ว ไม่ใช่เลย ดังที่เราได้เห็นในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส การใช้โซเชียลมีเดียสามารถส่งผลดีต่ออารมณ์และความเป็นอยู่ของผู้คน เพราะโซเชียลมีเดียคือช่องทางหลักที่ทำให้เราได้ติดต่อสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ และครอบครัว ไม่ว่าพวกเค้าจะอยู่ที่ใดก็ตาม ซึ่งนั่นคือสิ่งที่มีค่ามากเมื่อเราต้องอยู่แต่ในบ้านและมีข้อจำกัดในการเดินทางมากมาย นอกจากนั้น โซเชียลมีเดียยังเป็นช่องทางที่ทำให้เราได้แสดงออกถึงความคิดริ่เริ่มสร้างสรรค์ และค้นพบคนอื่นอีกมากมายที่อาจจะมีความสนใจ งานอดิเรก หรือมีความเชื่อที่เหมือนกับเรา

โซเชียลมีเดียแพลทฟอร์มอย่าง TikTok ยังถูกใช้ในการให้คำปรึกษาปัญหาทางด้านสุขภาพจิต เรื่องทางเพศ หรือเรื่องอื่น ๆ ที่สร้างความรู้สึกไม่มั่นใจ ซึ่งเป็นการให้ความช่วยเหลือผู้คนด้วยการที่รู้ว่าพวกเค้าไม่ได้มีปัญหาอยู่เพียงคนเดียว จิตแพทย์ยังได้ใช้ TikTok ในการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพจิตให้กับผู้คน เพื่อเป็นการให้ความรู้และทำให้รู้ว่าปัญหาทางสุขภาพจิตไม่ใช่เรื่องที่น่าอาย

เมื่อพูดถึงปัญหาทางสุขภาพจิตจากการใช้โซเชียลมีเดีย จะเกี่ยวพันกับเรื่องของความถี่ของการเข้าใช้มากกว่าการใช้งานโดยทั่ว ๆ ไป การศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบว่าการใช้โซเชียลมีเดียเป็นประจำมีผลดีต่อความเป็นอยู่ทางสังคม สุขภาพจิต และสุขภาพกาย แต่ไรก็ตาม ผลร้ายก็มีเช่นเดียวกัน เมื่อการใช้โซเชียลมีเดียเชื่อมโยงกับเรื่องของอารมณ์ เช่น การเช็คในแอพบ่อย ๆ เพราะความกลัวว่าจะตกกระแสหรือพลาดอะไรไป หรือเพราะรู้สึกขาดการติดต่อสัมพันธ์กับเพื่อน เมื่อไม่ได้อยู่บนโซเชียลมีเดีย

ดังนั้น แทนที่เราจะเลิกใช้โซเชียลมีเดียไปเลย เราควรที่จะระวังเรื่องการเข้าใช้โซเชียลมีเดียว่าควรจะบ่อยครั้งแค่ไหน และควบคุมตนเองในการใช้โซเชียลมีเดียอย่างเหมาะสมเพื่อให้เรามีความสุขที่สุดจะดีกว่า

 

ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ visartsrl.com

Releated